วัดใหม่อมตรส

“วัดใหม่อมตรส”เป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านพานถม บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯตามประวัติ วัดแห่งนี้ ได้สร้างขึ้นในปลายรัชกาล สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดวรามะตาราม ต่อมาเปลี่ยนชื่อว่า วัดอำมาตยรส หรือ วัดอมฤตรส แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า วัดบางขุนพรหม หรือ วัดบางขุนพรหมใน คู่กันกับวัดบางขุนพรหมนอก หรือ วัดอินทรวิหาร

          ต่อมาเมื่อปี 2460 ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดใหม่อมตรส สมัยนั้น บริเวณวัดร่มรื่นมาก ด้วยมีต้นไม้ใหญ่นานาชนิด

           วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ มีชื่อเสียงในด้านวัตถุมงคล คือ พระสมเด็จ กรุวัดใหม่อมตรส ตามประวัติบันทึกไว้ว่า เมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 เสมียนตราด้วง ผู้เป็นต้นตระกูล ธนโกเศศ ได้มีจิตศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหมใน และได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้ เพื่อบรรจุพระสมเด็จ

            เสมียนตราด้วงได้อาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ ธนบุรี ประกอบพิธีสร้างขึ้น พร้อมกับเมตตาปลุกเสกให้ โดยมีจำนวนพระที่สร้างประมาณ 84,000 องค์ ตามคตินิยมเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์

            เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ให้เสมียนตราด้วง นำพระเข้าบรรจุกรุไว้ที่ในเจดีย์องค์ใหญ่หลังอุโบสถสืบมา

            สำหรับบรรยากาศภายในวัดใหม่อมตรส ถึงแม้จะไม่ได้มีพื้นที่กว้างขวาง แต่บริเวณรอบวัดโดยรวม มีต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกภายในวัดอยู่หลายต้นด้วยกัน สร้างร่มรื่นเย็นสบายเป็นอันมาก ภายในวัดเป็นที่ตั้งโรงเรียนวัดใหม่อมตรสอีกด้วย

             วัดใหม่อมตรส ตั้งอยู่ในชุมชนติดกับโรงเรียน จะมีความคึกคักในตอนเช้า ช่วงที่มีนักเรียนเดินทางมาโรงเรียนวัดใหม่อมตรสและในช่วงเลิกเรียนที่จะมี ร้านค้ามาตั้งวางขายของ แต่พอพ้นช่วงระยะเวลาดังกล่าว วัดใหม่อมตรสก็จะเงียบสงบเช่นเดิม

              บริเวณ ด้านหน้าวัด เป็นที่ตั้งของอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี มีคนมากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดเป็นประจำ

           วัดนี้มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่ง เท่าที่สืบทราบได้ คือ 1.พระอธิการอ่อน 2.พระอธิการอยู่ 3.พระอธิการเทศ 4.พระอธิการแถม 5.พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) 6.พระครูบริหารคุณวัตร (ชม สิรินธโร)  7.พระครูพิพัฒนานุกูล (เทียม  นนฺทโก) รูปปัจจุบัน

 ความเป็นมาของสมเด็จฯ กรุวัดใหม่อมตรส

           ตามประวัติบันทึกไว้ว่า เมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ เสมียนตราด้วง ผู้เป็นต้นตระกูล ธนโกเศศ ได้มีจิตศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดบางขุนพรหมใน ขึ้นใหม่ และได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้ เพื่อบรรจุ พระสมเด็จฯ ซึ่งเสมียนตราด้วงได้อาราธนา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี ประกอบพิธีสร้างขึ้น พร้อมกับเมตตาปลุกเสกให้ โดยมีจำนวนพระที่สร้างประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามคตินิยมเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์

           เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ให้เสมียนตราด้วงนำ พระเข้าบรรจุกรุไว้ที่ในเจดีย์องค์ใหญ่หลังอุโบสถ

          ต่อมาได้มีการนำพระสมเด็จออกมาจากองค์เจดีย์ด้วยวิธีการต่างๆ จนถึงกับการลักลอบ ขุดฐานเจดีย์ก็มี จนทางวัดต้องดำเนินการเปิดกรุอย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ เวลาเช้า การเปิดกรุได้ดำเนินไปตลอดทั้งวัน จนถึงเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น.จึงได้นำพระสมเด็จออกจากกรุได้หมด พระบางองค์ได้ปะปนกับขี้กรุและก้อนดินจำนวนมากก็มี

       ทางวัดได้นำพระสมเด็จที่ได้นี้เปิดให้ชาวบ้านเช่าบูชา จนถึงปี ๒๕๐๙ ได้ยอดเงินทำบุญทั้งหมดประมาณ ๔ ล้านบาทเศษ

       เงินที่ได้นี้ทางวัดนำไปก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์องค์เดิม รวมทั้งได้หล่อรูป เหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต ขึ้น ๑ องค์ เมื่อปี ๒๕๐๙ ในคราวเดียวกับงานพิธีผูกพัทธสีมา และฝังลูกนิมิต

       ในปีนั้นทางวัดได้จัดสร้างพระสมเด็จ เนื้อผงขึ้นใหม่ ๙ พิมพ์ทรง และพิมพ์พิเศษ คือ พิมพ์ไสยาสน์ โดยถอดแบบพิมพ์จากของเดิมที่ขุดได้จากในกรุเจดีย์องค์ใหญ่

       การสร้างพระสมเด็จ รุ่นปี ๒๕๐๙ นี้ ได้ใช้เศษพระสมเด็จ หักเป็นจำนวนมาก เป็นส่วนผสมในการสร้างพระทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์ และเมื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษกเสร็จแล้ว ก็ได้ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านทำบุญบูชาองค์ละ ๑๐ บาท สำหรับพระที่เหลือจากการเช่าบูชา ทางวัดได้นำเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์เดิม

       พระครูพิพัฒนานุกูล รองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) กล่าวว่า เมื่อปี ๒๕๔๓ ทางวัดได้จัดสร้าง พระสมเด็จ บางขุนพรหม รุ่น “อุดมมงคล” ขึ้นโดยได้ผสมมวลสารพระสมเด็จหักชำรุด ของเก่ามากมาย ที่ได้จากการ เปิดกรุเมื่อปี ๒๕๐๐ และมวลสารพระ ทุกรุ่นของวัดใหม่อมตรส เช่น ปี ๒๕๐๙ ปี ๒๕๑๗ ปี ๒๕๓๑

      นอกจากนี้ยังมีผงมวลสารพระพิมพ์ต่างๆ ของ หลวงตาพัน หลวงพ่อลำภู ซึ่งท่านทั้งสองได้นำผงเก่าจากกรุปี ๒๕๐๐ มาใช้ผสมในการสร้างพระของท่านทุกพิมพ์ จนเป็นที่นิยมของศิษยานุศิษย์และศรัทธาญาติโยมทั่วไป  จึงเชื่อได้ว่าพระสมเด็จรุ่นนี้จะมีพุทธานุภาพเหมือนกับ พระสมเด็จที่เจ้าประคุณ สมเด็จฯโตได้ปลุกเสกไว้ เพราะมีผงมวลสารของท่านผสมอยู่ด้วยนั่นเอง (บางพิมพ์โรยผงเก่าไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน)

        พระรุ่นนี้ทั้งหมดทางวัดจัดสร้างขึ้นเอง กดพิมพ์พระโดยพระเณรในวัด และประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างถูกต้องตามพิธีกรรมของโบราณาจารย์ทุกประการ และพระชุดนี้ไม่ได้เปิดให้เช่าบูชาที่อื่นใดเลย

        นอกจากนี้ทางวัดยังได้จัดนิทรรศการ พระกรุบางขุนพรหม พระสมเด็จ ปี ๒๕๐๙ ปี ๒๕๑๗ ปี ๒๕๓๑ ครบทุกพิมพ์ โดยได้จัดแสดงพระองค์จริง ของแท้ ไว้ให้ศึกษาเป็นวิทยาทาน ที่วิหารสมเด็จฯโต วัดใหม่อมตรส อีกด้วย

เป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านพานถม บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯตามประวัติ วัดแห่งนี้ ได้สร้างขึ้นในปลายรัชกาล สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดวรามะตาราม ต่อมาเปลี่ยนชื่อว่า วัดอำมาตยรส หรือ วัดอมฤตรส แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า วัดบางขุนพรหม หรือ วัดบางขุนพรหมใน คู่กันกับวัดบางขุนพรหมนอก หรือ วัดอินทรวิหาร

          ต่อมาเมื่อปี 2460 ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดใหม่อมตรส สมัยนั้น บริเวณวัดร่มรื่นมาก ด้วยมีต้นไม้ใหญ่นานาชนิด

           วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ มีชื่อเสียงในด้านวัตถุมงคล คือ พระสมเด็จ กรุวัดใหม่อมตรส ตามประวัติบันทึกไว้ว่า เมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 เสมียนตราด้วง ผู้เป็นต้นตระกูล ธนโกเศศ ได้มีจิตศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหมใน และได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้ เพื่อบรรจุพระสมเด็จ

            เสมียนตราด้วงได้อาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ ธนบุรี ประกอบพิธีสร้างขึ้น พร้อมกับเมตตาปลุกเสกให้ โดยมีจำนวนพระที่สร้างประมาณ 84,000 องค์ ตามคตินิยมเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์

            เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ให้เสมียนตราด้วง นำพระเข้าบรรจุกรุไว้ที่ในเจดีย์องค์ใหญ่หลังอุโบสถสืบมา

            สำหรับบรรยากาศภายในวัดใหม่อมตรส ถึงแม้จะไม่ได้มีพื้นที่กว้างขวาง แต่บริเวณรอบวัดโดยรวม มีต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกภายในวัดอยู่หลายต้นด้วยกัน สร้างร่มรื่นเย็นสบายเป็นอันมาก ภายในวัดเป็นที่ตั้งโรงเรียนวัดใหม่อมตรสอีกด้วย

             วัดใหม่อมตรส ตั้งอยู่ในชุมชนติดกับโรงเรียน จะมีความคึกคักในตอนเช้า ช่วงที่มีนักเรียนเดินทางมาโรงเรียนวัดใหม่อมตรสและในช่วงเลิกเรียนที่จะมี ร้านค้ามาตั้งวางขายของ แต่พอพ้นช่วงระยะเวลาดังกล่าว วัดใหม่อมตรสก็จะเงียบสงบเช่นเดิม

              บริเวณ ด้านหน้าวัด เป็นที่ตั้งของอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี มีคนมากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดเป็นประจำ

           วัดนี้มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่ง เท่าที่สืบทราบได้ คือ 1.พระอธิการอ่อน 2.พระอธิการอยู่ 3.พระอธิการเทศ 4.พระอธิการแถม 5.พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) 6.พระครูบริหารคุณวัตร (ชม สิรินธโร)  7.พระครูพิพัฒนานุกูล (เทียม  นนฺทโก) รูปปัจจุบัน

ความเป็นมาของสมเด็จฯ กรุวัดใหม่อมตรส

           ตามประวัติบันทึกไว้ว่า เมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ เสมียนตราด้วง ผู้เป็นต้นตระกูล ธนโกเศศ ได้มีจิตศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดบางขุนพรหมใน ขึ้นใหม่ และได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้ เพื่อบรรจุ พระสมเด็จฯ ซึ่งเสมียนตราด้วงได้อาราธนา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี ประกอบพิธีสร้างขึ้น พร้อมกับเมตตาปลุกเสกให้ โดยมีจำนวนพระที่สร้างประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามคตินิยมเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์

           เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ให้เสมียนตราด้วงนำ พระเข้าบรรจุกรุไว้ที่ในเจดีย์องค์ใหญ่หลังอุโบสถ

          ต่อมาได้มีการนำพระสมเด็จออกมาจากองค์เจดีย์ด้วยวิธีการต่างๆ จนถึงกับการลักลอบ ขุดฐานเจดีย์ก็มี จนทางวัดต้องดำเนินการเปิดกรุอย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ เวลาเช้า การเปิดกรุได้ดำเนินไปตลอดทั้งวัน จนถึงเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น.จึงได้นำพระสมเด็จออกจากกรุได้หมด พระบางองค์ได้ปะปนกับขี้กรุและก้อนดินจำนวนมากก็มี

       ทางวัดได้นำพระสมเด็จที่ได้นี้เปิดให้ชาวบ้านเช่าบูชา จนถึงปี ๒๕๐๙ ได้ยอดเงินทำบุญทั้งหมดประมาณ ๔ ล้านบาทเศษ

       เงินที่ได้นี้ทางวัดนำไปก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์องค์เดิม รวมทั้งได้หล่อรูป เหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต ขึ้น ๑ องค์ เมื่อปี ๒๕๐๙ ในคราวเดียวกับงานพิธีผูกพัทธสีมา และฝังลูกนิมิต

       ในปีนั้นทางวัดได้จัดสร้างพระสมเด็จ เนื้อผงขึ้นใหม่ ๙ พิมพ์ทรง และพิมพ์พิเศษ คือ พิมพ์ไสยาสน์ โดยถอดแบบพิมพ์จากของเดิมที่ขุดได้จากในกรุเจดีย์องค์ใหญ่

       การสร้างพระสมเด็จ รุ่นปี ๒๕๐๙ นี้ ได้ใช้เศษพระสมเด็จ หักเป็นจำนวนมาก เป็นส่วนผสมในการสร้างพระทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์ และเมื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษกเสร็จแล้ว ก็ได้ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านทำบุญบูชาองค์ละ ๑๐ บาท สำหรับพระที่เหลือจากการเช่าบูชา ทางวัดได้นำเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์เดิม

       พระครูพิพัฒนานุกูล รองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) กล่าวว่า เมื่อปี ๒๕๔๓ ทางวัดได้จัดสร้าง พระสมเด็จ บางขุนพรหม รุ่น “อุดมมงคล” ขึ้นโดยได้ผสมมวลสารพระสมเด็จหักชำรุด ของเก่ามากมาย ที่ได้จากการ เปิดกรุเมื่อปี ๒๕๐๐ และมวลสารพระ ทุกรุ่นของวัดใหม่อมตรส เช่น ปี ๒๕๐๙ ปี ๒๕๑๗ ปี ๒๕๓๑

      นอกจากนี้ยังมีผงมวลสารพระพิมพ์ต่างๆ ของ หลวงตาพัน หลวงพ่อลำภู ซึ่งท่านทั้งสองได้นำผงเก่าจากกรุปี ๒๕๐๐ มาใช้ผสมในการสร้างพระของท่านทุกพิมพ์ จนเป็นที่นิยมของศิษยานุศิษย์และศรัทธาญาติโยมทั่วไป  จึงเชื่อได้ว่าพระสมเด็จรุ่นนี้จะมีพุทธานุภาพเหมือนกับ พระสมเด็จที่เจ้าประคุณ สมเด็จฯโตได้ปลุกเสกไว้ เพราะมีผงมวลสารของท่านผสมอยู่ด้วยนั่นเอง (บางพิมพ์โรยผงเก่าไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน)

        พระรุ่นนี้ทั้งหมดทางวัดจัดสร้างขึ้นเอง กดพิมพ์พระโดยพระเณรในวัด และประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างถูกต้องตามพิธีกรรมของโบราณาจารย์ทุกประการ และพระชุดนี้ไม่ได้เปิดให้เช่าบูชาที่อื่นใดเลย

        นอกจากนี้ทางวัดยังได้จัดนิทรรศการ พระกรุบางขุนพรหม พระสมเด็จ ปี ๒๕๐๙ ปี ๒๕๑๗ ปี ๒๕๓๑ ครบทุกพิมพ์ โดยได้จัดแสดงพระองค์จริง ของแท้ ไว้ให้ศึกษาเป็นวิทยาทาน ที่วิหารสมเด็จฯโต วัดใหม่อมตรส อีกด้วย

Wat Mai Amata Rot

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *